เทคโนโลยี และ อุปกรณ์

       ในยุค 5.0 นี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทั่วทุกแห่งหนแทบจะมีการนำ IoT เข้ามาประยุกต์ใช้งานงานแล้วทั้งหมด ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้าน ระหว่างการเดินทาง อาคารสำนักงาน ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า และอีกมากมาย เรามาดูกันว่า IoT ได้นำไปประยุกต์ใช้หรือแทรกซึมอยู่กับเราในที่ใดบ้าง

 

อ้างอิงจาก www.plus.co.th

Smart Device

       Smart Device เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือเครือข่ายไร้สายผ่านทางโปรโตคอลที่แตกต่างกัน สามารถตอบโต้ร่วมกันได้หลายชนิด โดยส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กที่สามารถบรรจุระบบปฏิบัติการไว้ภายใน และประมวลผลได้เพียงไม่กี่กิกะไบต์

 

อ้างอิงจาก www.plus.co.th

Wearables

       อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถติดตั้งใช้งานบนส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อความสะดวกในการใช้งานเพราะสามารถนำติดตัวไปได้ทุกที่ สามารถทำงานได้ทั้งในแบบ Stand alone หรือทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นอย่าง Smartphone ผ่านทางแอพพลิเคชั่น วัดการตรวจจับพฤติกรรมของผู้สวมใส่แล้วแปลงค่าออกมา เช่น 

  • เซ็นเซอร์วัดระยะทางของการวิ่ง
  • วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
  • วัดอุณหภูมิรอบๆ
  • บอกพิกัดตำแหน่งบนโลก

รวมทั้งยังสามารถสั่งการให้เล่นเพลงจาก Smartphone แสดงสถานะของการโทรเข้าโทรออก แจ้งเตือนเมื่อมีข้อความอีเมลล์ Facebook Twitter ผ่านอุปกรณ์ที่สวมใส่

ปัจจุบันมีการพัฒนา Wearable ออกมาเป็นรูปแบบของ Gadget ต่างๆ มากมาย ซึ่งแบ่ง ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. Watch – Wearable Computer ประเภทนาฬิกา
  2. Wrist band – Wearable Computer ประเภทสายรัดข้อมือ
  3. Glasses – Wearable Computer ประเภทแว่นตา

อ้างอิงจาก www.plus.co.th

VR/AR 

       VR ย่อมาจาก Virtual Reality คือ เทคโนโลยีที่จำลองสถานที่ขึ้นมาเป็นโลกเสมือน ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการมองเห็น โดยผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมที่จำลอง
ขึ้นมาได้ผ่านอุปกรณ์ เช่น แป้นพิมพ์, เม้าส์ หรืออุปกรณ์ที่ทำขึ้นมาโดยเฉพาะ เช่น ถุงมือ, รองเท้า เป็นต้น

       VR จะไม่มีชนิดแบ่งแยกชัดเจน เนื่องจากจำเป็นต้องใช้แว่นตา, Smartphone หรือ อุปกรณ์สวมใส่เพื่อใช้ในการเข้าไปสู่โลกเสมือน แต่จะมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ช่วยให้สมจริงยิ่งขึ้น เช่น เครื่องจำลองการขยับของรถไฟเหาะจำลอง, เครื่องสร้างการสั่นสะเทือน

ตัวอย่างการนำเทคโนโลยี VR ไปใช้งาน

  • Game ใช้ในการเล่นเกมส์แนว FPS (First Person Shooter) จะเป็นปืนจำลองให้ถือไปในระหว่างเล่น และ ตัวจำลองการเดินและวิ่งที่ผูกติดตัวเราไว้ คล้าย ๆ กับลู่วิ่ง
  • Flight Simulator ใช้ในการจำลองการฝึกขับเครื่องบินของกัปตัน
  • Skydive Simulator ใช้ในการจำลองการฝึกหัดทางทหาร เช่น การกระโดดร่ม โดยจะต้องใช้อุปกรณ์เสริมเป็นชุดกระโดดร่มจริง และ อุุปกรณ์ที่รั้งตัวให้สูงจากพื้น
  • Virtual Tour ใช้ในการสวมเพื่อจำลองห้องที่มีการตกแต่งแล้ว (บริษัทอสังหาริมทรัพย์บางรายมีการใช้เทคโนโลยีนี้ในการโปรโมทโครงการใหม่เพื่อช่วยให้อ้างอิงจากสถานที่จริงได้ง่ายขึ้น)

       AR ย่อมาจาก Augmented Reality คือ เทคโนโลยีที่นำวัตถุ 3 มิติ มาจำลองเข้าสู่โลกจริง โดยมีหลักการทำงานคือใช้ Sensor ในการตรวจจับภาพ, เสียง, การสัมผัส หรือ การรับกลิ่น
แล้วจะสร้างภาพ 3 มิติขึ้นมาตามเงื่อนไขที่ได้รับ ด้วยการประมวลจาก Software โดยผู้ใช้งานจะต้องมองผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่แสดงภาพได้ ไม่ว่าจะเป็น แว่นตา, จอภาพ, จอ Smartphone หรือ คอนแทคเลนส์ ที่เป็น Hardware

AR สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดหลัก ๆ ดังนี้

  1. Marker-Based – ใช้วิธีติดตั้งในใบปลิว แผ่นพับ หรือ วัตถุต่าง ๆ โดยผู้ใช้งานสามารถดูภาพ 3 มิติได้จากการนำกล้องของ Smartphone ไปส่องที่วัตถุนั้น เช่น กระดาษเปล่าที่เมื่อส่องด้วยกล้อง
    Smartphone จะเจอข้อมูลแสดงขึ้นมา
  2. Markerless – ผู้ใช้งานสามารถหยิบจับวัตถุมาวางในโลกจริงได้ ผ่าน Application เช่น นำเฟอร์นิเจอร์เสมือนมาวางไว้ที่ห้อง ก่อนจะไปซื้อมาใช้จริง
  3. Location-Based – หากนำกล้อง Smartphone ส่องไปยัง Location-Based AR จะแสดงผลข้อมูลของสถานที่นั้น ๆ อ้างอิงจาก GPS เช่น แสดงป้ายบอกทาง และ ชื่อถนน

ตัวอย่างการนำเทคโนโลยี AR ไปใช้งาน

  • การดูภาพ 3 มิติ จากการเปิดกล้องใน Smart phone ใช้เป็นสื่อการสอนในโรงเรียนได้แสดงเนื้อหาประกอบในสถานที่จริงนั้น ๆ เช่น เป็นป้ายบอกทาง (ของ Google) หรือ ใช้ในธุรกิจการท่องเที่ยว ตามสถานที่
    ท่องเที่ยว เช่น พิพิธภัณฑ์
  • ใช้กับการเล่นเกมส์ ที่เกี่ยวกับ Location เช่น Pokemon GO
  • ใช้ประโยชน์ในด้านการทหาร เรื่องการซ้อมรบ
  • ใช้ในงานแสดงศิลปะ โดยให้ความละเอียดที่อ้างอิงจากชิ้นงานจริงใช้ในสื่อโฆษณา ในการแสดงสินค้าต่างๆ

อ้างอิงจาก www.plus.co.th

IP Camera (Internet Protocol Camera) 

       คือ กล้องวงจรปิดที่รวมเอาคุณสมบัติของ Web Server ไว้ในตัวกล้องเป็นการนำเอาความสามารถบางส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์บรรจุลงไปในตัวกล้องวงจรปิด เพื่อให้สามารถดูภาพสดบนระบบเครือข่ายได้ โดยผู้ใช้งานสามารถ ดูภาพจากระยะไกลเพื่อใช้ในการรักษาความปลอดภัย และ เฝ้าระวัง ภายใน บ้าน สำนักงาน โรงงาน ห้างสรรพสินค้า และอื่นๆ

อ้างอิงจาก www.plus.co.th

Face Recognition

       เทคโนโลยีจดจำใบหน้า คือ กระบวนการในการจดจำใบหน้า โดยนำไปเปรียบเทียบกับใบหน้าในฐานข้อมูล พร้อมวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ และเอกลักษณ์ของหน้า เช่น ตา จมูก
คิ้ว ปาก โครงหน้า หรือแม้แต่ระยะห่างระหว่างอวัยวะต่าง ๆ บนใบหน้า เพื่อยืนยันว่าใบหน้าที่ตรวจจับได้ถูกต้อง และตรงกับบุคคลนั้น ๆ ตัวอย่างการใช้งานที่ใกล้ตัวที่สุดคือ
การปลดล็อคสมาร์ทโฟน หรือการผ่านเข้าอาคารด้วยการสแกนหน้าแทนการใช้ Key Card

อ้างอิงจาก www.plus.co.th

Connected Car

       เป็นรถยนต์อัจฉริยะที่มีการติดตั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ซึ่งการติดตั้งระบบเครือข่ายดังกล่าวจะช่วยให้รถยนต์สามารถเชื่อมต่อ และแบ่งปันอินเทอร์เน็ต ให้กับอุปกรณ์อื่นๆ
ที่อยู่ภายใน และภายนอกนอกรถยนต์ได้ 

       เทคโนโลยีConnectedcarเป็นการพัฒนาต่อยอดจากแนวคิดของรถยนต์อัจฉริยะซึ่งมีการติดตั้งเทคโนโลยีพิเศษอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ขับรถทั้งในด้านความปลอดภัยและ
ความสะดวกสบาย โดยมีการเพิ่มเติมในเรื่องของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ส่งผลให้รถยนต์ สามารถติดต่อสื่อสารกับสิ่งอื่นๆ ได้เองอัตโนมัติ 

       อย่างไรก็ตาม Connected car ก็ยังมีการปรับตัวที่ช้ากว่า รูปแบบอื่นเนื่องจากวงรอบในการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์จะต้องใช้เวลาประมาณ 2 - 4 ปี ทำให้มีการพูดถึง
ในเรื่องนี้ยังมีไม่มากนัก ในส่วนของ BMW และ Ford ก็ยังไม่ได้ประกาศออกมาเป็นรูปร่างมากนัก ถึงแม้ ทาง Google, Microsoft และ Apple ได้ประกาศเปิดตัวฟอร์มสำหรับ Connected car ไปกันบ้างแล้วก็ตาม

 

อ้างอิงจาก www.plus.co.th

Connected Health 

       เป็นแนวคิดการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงชุมชนเข้ากับระบบสุขภาพแบบครบวงจรโดยเชื่อมโยงบริการทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการบริการสุขภาพตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงผู้รับบริการปลายทาง
เข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาลทั้งในเมืองและในพื้นที่ห่างไกล ผู้ป่วย แพทย์ ร้านขายยา สถาบันวิจัย หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง บริษัทประกัน ไปจนถึงลูกจ้าง พนักงาน
และบ้านเรือน

       ระบบConnectedhealthนี้จะช่วยให้โรงพยาบาลขยายขอบเขตการประสานความร่วมมือกันได้อย่างครอบคลุมทำให้ลดความซ้ำซ้อนในการทำงานช่วยพัฒนาการให้บริการควบคู่
ไปกับการควบคุมค่าใช้จ่ายนอกจากนี้ยังช่วยเชื่อมโยงบุคลากรทางการแพทย์ถึงกันและเชื่อมโยงแพทย์เข้ากับข้อมูลสำคัญต่างๆช่วยให้แพทย์สามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด
และให้คำแนะนาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ป่วยมีบทบาทในการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น

       แนวคิดของระบบ Connected health, Digital health หรือSmart medical ยังไม่ได้เป็นที่ แพร่หลายมากนักซึ่งทางผู้พัฒนาก็ได้ปล่อยตัวระบบและอุปกรณ์มาให้ใช้งานบ้างแล้ว
เช่น CellScope หรือ Swaive

       สำหรับในประเทศไทยทางโรงพยาบาลสมิติเวชและบีเอ็นเอช ในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพฯ ได้ร่วมมือ กันคิดค้นแอพพลิเคชั่นชื่อว่า Samitivej Connect by TrueMove H
และ BNH Connect by TrueMove H เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสื่อสารกับโรงพยาบาลได้ทันท่วงที โดยมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นตารางการ นัดแพทย์ การส่งรถพยาบาลมา
เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ปรึกษาปัญหาสุขภาพทั่วไป เสมือนได้รับการดูแลจาก โรงพยาบาลตลอดเวลาในแบบที่เป็นส่วนตัว ถือว่าเป็นมิติใหม่ของการให้บริการทางการแพทย์ในยุคดิจิตอล โดยนำเทคโนโลยีทางด้านไอทีมาเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลเพื่อให้บริการแบบไร้ข้อจำกัด

อ้างอิงจาก www.plus.co.th

Smart City 

       เมืองอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อทำให้ คุณภาพชีวิตของพลเมืองนั้นดีขึ้น ส่งผลให้การใช้ชีวิตนั้นสะดวกสบายพลเมืองสามารถเข้าถึงการบริการของ เมืองนั้นได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงระบบรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน เช่น การจัดการพลังงานไฟฟ้า ระบบจัดการน้ำ จัดการขยะ ระบบตรวจจับและเฝ้าระวังความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมในสังคม เป็นต้น

       การนำ IoT เข้ามาพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยใน T77 คอมมูนิตี้ใจกลางเมืองย่านอ่อนนุช พัฒนาโดยแสนสิริ ได้มีการนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาประยุกต์ใช้งานผ่าน
การบริการที่เรียกว่า LIV-24 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ทำงานควบคู่กับทีมวิศวกรมืออาชีพผ่านศูนย์ควบคุมจากส่วนกลาง Command คอยตรวจจับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติเพื่อป้องกัน และระงับก่อนเกิดเหตุไม่คาดฝันให้กับผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณ T77 ด้วยอุปกรณ์ CCTV VDO Analytic ติดตั้งอยู่ในบริเวณต่างๆ และได้มีการเชื่อมระบบสู่ศูนย์ควบคุมทั้งหมดเพื่อสามารถมอนิเตอร์เหตุการณ์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อ้างอิงจาก www.plus.co.th

Smart Home 

       หรือบ้านอัจฉริยะ เป็นการรวมโครงข่ายการสื่อสาร (Communication Network) ของที่อยู่อาศัยรวมเข้าด้วยกันเพื่อเชื่อมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า การบริการการตรวจตราดูแล รวมทั้งสามารถเข้าถึงการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ได้ ซึ่งการควบคุมอาจควบคุมได้ทั้งจากภายในที่บ้านเอง หรือควบคุมจากภายนอกผ่าน Smart Phone ก็ได้

โครงสร้างของ Smart home จะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่

  1. อุปกรณ์ Smart Device ใช้สำหรับเชื่อมโยง
  2. เครือข่าย Smart home network
  3. ส่วนควบคุมหลักที่เปรียบเสมือนสมองของบ้าน ซึ่งสามารถเขียนโปรแกรมให้บ้านทำงาน ตามแบบที่เราต้องการได้เรียกว่า Intelligent control system

ประโยชน์ของการติดตั้ง Smart Home

  • เพิ่มความสะดวกสบาย เช่น ประตูอัตโนมัติ รีโมทอัจฉริยะ
  • เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพิ่มความสามารถให้กับกล้องวงจรปิด นอกเหนือจากการบันทึกภาพเพียงอย่างเดียว เช่น เซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว และระบบการแจ้งเตือน
  • เพื่อประหยัดพลังงาน เช่น การเปิดปิดไฟอัตโนมัติตามแสงอาทิตย์ หรือปิดไฟอัตโนมัติเมื่อไม่มีคนอยู่ รวมไปถึงการบริหารจัดการพลังงานในกรณีที่ติดตั้งแผงวงจรโซลาร์เซลล์
  • เพื่อดูแลสุขภาพของผู้อาศัยภายในบ้าน เช่น จะติดตั้งเซนเซอร์ตรวจคลื่นหัวใจ ตรวจจับไฟไหม้โดยส่งสัญญาณ เมื่อเวลาเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติ

อ้างอิงจาก www.plus.co.th

Smart Grid 

       หรือโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เป็นโครงข่ายไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาบริหารจัดการควบคุมการผลิต ส่งและจ่ายพลังงานไฟฟ้า สามารถรองรับการเชื่อมต่อระบบ ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือกที่สะอาด (Distributed Energy Resource : DER) และระบบบริหารการใช้สินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

       รวมทั้งให้บริการกับผู้เชื่อมต่อกับโครงข่ายผ่านมิเตอร์อัจฉริยะได้อย่างมี ประสิทธิภาพ มีความมั่นคงปลอดภัยเชื่อถือได้ พร้อมทั้งคุณภาพของไฟฟ้าได้มาตรฐานสากล Smart grid เกิดจากการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า ระบบสารสนเทศ และระบบสื่อสารเข้าไว้ด้วยกันเป็น โครงข่าย ซึ่งโครงข่ายดังกล่าวจะสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ
โดยอาศัยความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่

  1. อิเล็กทรอนิกส์และระบบฝังตัว (Electronics and Embedded Systems)
  2. ระบบควบคุมอัตโนมัติ (System Control and Automation)
  3. สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication)

อ้างอิงจาก www.plus.co.th

Smart Farming 

       หรือฟาร์มอัจฉริยะ คือ การนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานเข้ากับงานด้านการเกษตรเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับเกษตรกร เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะนั้นตั้งอยู่บนแนวคิด ของการทำเกษตรสมัยใหม่ที่เรียกว่า เกษตรแม่นยำสูง เป็นกลยุทธ์ในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทำให้เกษตรกรสามารถปรับการใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับ
สภาพของพื้นที่มากที่สุด รวมไปถึงเรื่องการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ

       ซึ่งแนวคิดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งฟาร์มพืชและสัตว์ ฟาร์มอัจฉริยะนี้จะมีความแตกต่าง กับฟาร์มธรรมดาอยู่ตรงที่ การใช้ทรัพยากรนั้นทำได้อย่างแม่นยำและตรงต่อความ
ต้องการของพืชและสัตว์ ซึ่ง ช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรและได้ผลผลิตที่ออกมาตรงตามความต้องการของผู้ดูแลมากที่สุด ผ่านการเชื่อมโยงข้อมูงโดย IoT

 

อ้างอิงจาก www.plus.co.th

Smart Retail 

       เป็นการนำเทคโนโลยต่างๆ เข้ามาช่วยเพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจห้างร้านได้เป็นอย่างดี ด้วยการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีสำหรับลูกค้าในการซื้อสินค้า โดยส่งข้อมูลสินค้า
ไปยังอุปกรณ์ Smart Phone ของลูกค้าส่งผลให้ธุรกิจห้างร้านมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ในบางประเทศสามารถ Shopping โดยไม่ต้องเข้าคิวขำระเงินผ่านเคาน์เตอร์อีกต่อไป เพียงแค่เข็นรถเข็นออกจากร้านระบบก็จะหักเงินอัตโนมัติผ่านช่องทางที่ได้ตั้งค่าไว้

อ้างอิงจาก www.plus.co.th

Smart Supply Chain 

       หรือการจัดการห่วงโซ่อุปทาน หมายถึง การจัดการในส่วนของกระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ผลิตกับผู้ขายวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิตอันนำไปสู่การเพิ่มผลกำไรของกิจการได้ในที่สุด  โดยกระบวนการจะเริ่มตั้งแต่ขั้นตอน

  • การจัดซื้อ (Procurement)
  • การผลิต (Manufacturing)
  • การจัดเก็บ (Storage)
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology)
  • การจัดจำหน่าย (Distribution)
  • การขนส่ง (Transportation)

       ซึ่งมีผลสำคัญต่อการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้านอกจากนี้ Smart Supply Chain ไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กรเท่านั้น แต่ที่สำคัญจะสร้างความสัมพันธ์เชื่อมต่อกับองค์กรอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ผู้จัดหาวัตถุดิบ/สินค้า (Suppliers) บริษัทผู้ผลิต (Manufactures) บริษัทผู้จำหน่าย (Distribution)
รวมถึงลูกค้าของบริษัท

       จึงเป็นการเชื่อมโยงกระบวนการดำเนินธุรกิจทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องด้วยกันเป็นห่วงโซ่หรือเครือข่ายให้เกิดการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในกระบวนการต่างๆ นั้นจะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือ ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

 

                                                                                 Back to the top page

 

เว็บไซต์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา โครงงาน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ครูที่ปรึกษาประจำวิชา ครูสุดฤดี ประทุมชาติ ปีการศึกษา 2565