IoT Internet of Things กับไทยแลนด์ 4.0

อ้างอิงจาก techspace.co.th

       1.1 การส่งเสริมให้เกษตรกรเป็น Smart Farmer โดยการเสริมให้ทำการเกษตรแบบสมัยใหม่ เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในประเทศไทย สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 โดยเน้นการพัฒนาและ คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ในทางการเกษตร คือเรื่องการเสริมสร้างผลิตภัณฑ์ทางด้าน อาหาร เกษตร แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรไทยอาศัยการใช้สารเคมีในการ ทำการเกษตรซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์การเกษตรมีปัญหาในการผลิตมาต่อเนื่องยังรวมถึงปัญหาทางด้านสภาพดินฟ้าอากาศที่เกิดจากโลกร้อนซึ่งก่อให้เกิดปัญหาที่แก้ไม่ได้ใน ทางการเกษตรอีกมากมาย

       1.2 การพัฒนาให้เกษตรกรไทยก้าวสู่ยุค THAILAND 4.0 จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ Smart Farmer คือ ลดการทำร้ายธรรมชาติ ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น ทำแล้วต้องสบายขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่ยิ่งทำยิ่งเหนื่อย ตัวอย่างของการทำเกษตรกรรมแบบ Smart Farmer เช่น การมีพื้นที่เล็ก ๆ แต่สามารถออกแบบให้ปลูกแบบผสมผสานและเกื้อกูลกันได้ ต้องใช้เทคโนโลยีเป็น จึงเกิดแนวคิดการประยุกต์ใช้ Internet of Things ช่วยในการจัดการปลูกพืชให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุด เป็นการเชื่อมโยงไปถึง Smart Farmer กล่าวคือตัวเกษตรกรต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ในด้านเกษตรกรรมและเทคโนโลยี สามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ สามารถแก้ไขปัญหาได้ มีความคิด รู้จักการวางแผน งาน และเป็นคนที่รู้จักใช้เทคโนโลยีเพื่อลดปัญหาเรื่องของแรงงาน

       1.3 Internet of Things เป็นเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน หมายถึง เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ตู้เย็น โทรทัศน์และอื่นๆเข้าไว้ด้วยกันโดยเครื่องมือต่างๆจะสามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งในอนาคตของผู้บริโภคทั่วไปจะเริ่มคุ้นเคยกับเทคโนโลยีที่ทำให้ สามารถควบคุม สิ่งของต่างๆ ทั้งจากในบ้าน และสำนักงานหรือจากที่ไหนก็ได้ เช่น การควบคุมอุณหภูมิภายในบ้าน การเปิดปิดไฟ ไปจนถึงการสั่งให้เครื่องรดน้ำต้นไม้ หรือแปลงเกษตรของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามยังมี เทคโนโลยีอื่นๆ ยังจำเป็นต้องมีพัฒนาก่อน ถึงจะเกิดเป็น IoT ยกตัวอย่าง เช่น ระบบตรวจจับต่างๆ (Sensors) รูปแบบการ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ และระบบที่ฝังตัวอยู่ในคอมพิวเตอร์

       1.4 ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และสามารถสั่งงานที่เรา ต้องการได้นั้น จึงจำเป็นต้องมีนักพัฒนาด้านอิเล็กทรอนิกส์และระบบสั่งการหรือโค้ดโปรแกรม เพื่อใช้ สั่งการอุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจาก Internet of Things มีพื้นฐานอยู่บนระบบฝังตัว หรือสมองกลฝังตัว (embedded system) คือ ระบบประมวลผล ที่ใช้ชิปหรือไมโครโพรเซสเซอร์ที่ออกแบบมา โดยเฉพาะ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่ฝังไว้ในอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องเล่น อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ตามที่มีคนให้คำจำกัดความไว้ว่า “The Internet of Things it the interconnection of uniquely identifiable embedded computing devices within the existing Internet infrastructure. ซึ่งต้องมีอินเตอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐาน แต่ส่วนประกอบหนึ่ง ที่มีความสำคัญก็คือระบบฝังตัว

       1.5 ตัวอย่างที่น่าสนใจในการใช้ Internet of Things คือ ในการเกษตรสมัยใหม่ได้มีการพัฒนาให้เกิดกระบวนการทำงานหรือการเพาะปลูกที่มีระบบหมุนเวียน อย่างเช่น Aquaponics ที่กำลังได้รับความนิยมสำหรับคนรักปลา ผู้ที่ชอบเลี้ยงปลาสวยงาม ซึ่งมักจะคุ้นเคยกับการปลูกพืชน้ำต่างๆ ในระบบบ่อกรอง บ่อบำบัด แต่มาระยะหลังๆ เริ่มมีการผสมผสานเทคโนโลยีที่ดีที่สุด ของ แนวทางและหลักการของระบบการปลูกพืชไร้ดิน ไฮโดรโปนิกส์ hydroponics มาผสมผสานกันอย่าง ลงตัว โดยใช้ของเสียจากปลาที่ผสมอยู่ในน้ำมาหมุนเวียนใช้ร่วมกับจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อเปลี่ยนของเสีย ให้เป็นธาตุอาหารที่ผักต้องการ เพื่อใช้เป็นอาหารของผักแทนปุ๋ย ปรากฏว่าประสบความสำเร็จเป็น อย่างดี จึงเป็นอีกทางเลือกใหม่ สำหรับการปลูกพืชผักไว้กินเองในครอบครัว หรือจะปลูกผักในระบบ ใหญ่กับบ่อเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ ในรูปแบบเชิงการค้า

       1.6 เป็นระบบของการเลี้ยงสัตว์น้ำและการปลูกพืชเข้าด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันทำได้โดยการเลี้ยง ปลาแบบน้ำไหลเวียนร่วมกับการปลูกพืชผักสมุนไพรด้วยระบบไฮโดรโปรนิกส์ ซึ่งเป็นการพัฒนาขั้นสูง ของนักวิจัยและผู้ปลูกพืชผัก เพื่อให้เกิดต้นแบบการผลิตอาหารแบบยั่งยืนเพื่อเลี้ยงประชากรโลกใน อนาคต ปัจจุบันอควาโปนิกส์ เปรียบเหมือนต้นแบบของการผลิตอาหารแบบยั่งยืน โดยยึดถือหลักการ ที่แน่นอน ดังนี้คือ

       1.6.1 ผลิตภัณฑ์ของเสียของระบบชีววิทยาชนิดหนึ่ง สามารถผลิตสารอาหารให้ระบบ ชีววิทยาอีกชนิดหนึ่งได้อย่างเหมาะสม คือ ของเสียจากมูลของปลาสามารถนำมาเป็นปุ๋ยให้กับพืชได้

       1.6.2 การรวมการผลิตพืชและการเลี้ยงปลาเป็นผลของการผลิตแบบหลากหลาย (Polyculture) ซึ่งจะเพิ่มความหลากหลายและได้ผลผลิตแบบทวีคูณ เป็นระบบนิเวศแบบเกื้อกูลกัน

       1.6.3 น้ำถูกกรองโดยผ่านการกรองทางชีววิธี และนำกลับมาใช้ซ้ำ

       1.6.4 เป็นการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพปราศจากสารเคมีสามารถผลิตได้ทั่วไป ช่วย ยกระดับเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นได

 

เว็บไซต์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา โครงงาน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ครูที่ปรึกษาประจำวิชา ครูสุดฤดี ประทุมชาติ ปีการศึกษา 2565